ขงจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในอารยธรรมจีน ชาวจีนรวมทั้งชาวเอเซียตะวันออกพากันเลื่อมใสยกย่องขงจื๊อติดต่อกันมากว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว แต่หากจะตั้งคำถามว่า คำสอนของขงจื๊อสมควรจัดเป็นศาสนาได้หรือไม่
ก็จะมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่ยังลังเล ไม่ยอมตอบรับ เพราะคำสอนของนักปราชญ์ท่านนี้ไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าหรือกำเนิดของจักรวาล ไม่สนใจให้คำอธิบายเรื่องภพหน้าหรือชีวิตหลังความตาย อีกทั้งขงจื๊อเองก็ไม่เคยอ้างว่า ตนเป็นต้นคิดคำสอนเหล่านั้น ท่านย้ำอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอว่า เป็นแต่เพียงผู้รวบรวมความคิดของนักคิดนักปราชญ์ในอดีตกาล เพื่อถ่ายทอดให้แก่ชนรุ่นหลัง นั่นคือท่านไม่เคยตั้งตนเป็นศาสดา และไม่เคยกำหนดให้ผู้เลื่อมใสคำสอนของท่านสละการครองเรือนมาเป็นนักบวช การถกกันเรื่องนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ง่ายๆ
เดิมทีเดียวในสมัยที่ขงจื๊อยังมีชีวิตอยู่ มิได้ถือกันว่าคำสั่งสอนที่ขงจื๊อรวบรวมจากความคิดของนักคิดนักปราชญ์ในอดีตกาลเป็นศาสนา แต่เมื่อขงจื๊อสิ้นชีวิตแล้ว ผู้นิยมในคำสอนต่างยกย่องสรรเสริญ และต่อมาจึงมีประกาศเป็นทางการให้บูชาขงจื๊อในฐานะศาสดา
เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื้อ เมื่อทศวรรษ 1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมากกว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย
ขงจื้อ (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่าจื้อ...เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็นอาจารย์) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา ‘หยูเจีย’ หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่
ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งจารีตและดนตรีมาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษาของรัฐหลู่ ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุสามขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม
ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆ ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ขงจื้อ ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30 และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้…เนื้อตากแห้งเพียงชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์
เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี 70คน จากสานุศิษย์70คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า ‘อาจารย์กล่าวว่า...’ ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า ‘หลุนอวี่’
ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรกที่ขงจื้อสอนสั่งคือเหรินหรือเมตตาธรรม
เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่าเหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้นๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ ‘เหริน’
พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี479ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)
ขงจื๊อมีชีวิตอยู่ระหว่างปี ๕๕๑ ถึงปี ๔๗๙ ก่อนคริสตกาล ช่วงเวลาดังกล่าวกลียุคกำลังครอบงำแผ่นดินจีน ขงจื๊อเกิดในตระกูลผู้ดีตกยากที่มณฑลซานตุง ชื่อตัวคือ ชิวหรือคิว นามสกุลคุงหรือขง ครอบครัวของท่านเป็นผู้คงแก่เรียน ท่านเองก็มีความรักเรียนตั้งแต่วัยเด็ก ขวนขวายหาความรู้ด้วยตนเอง แม้จะต้องทำงานหนักเพื่อช่วยครอบครัว เนื่องจากบิดาเสียชีวิตเมื่อขงจื๊ออายุได้เพียง ๓ ปี ท่านสนใจขุมปัญญาของบรรพชนจีนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และประวัติศาสตร์ ท่านเห็นว่าการที่แผ่นดินจีนในอดีตสงบสุขและรุ่งเรืองกว่าสมัยของท่านเอง เป็นเพราะคนโบราณนับแต่ผู้ครองแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ตลอดไปจนถึงบรรดาพลเมืองต่างมีคุณธรรมประจำใจ รู้จักปฏิบัติตนในทางที่เกื้อหนุนให้เกิดความสามัคคีในสังคม และเคารพจารีตประเพณีประจำถิ่นของตนอย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้ขงจื๊อจึงคิดจะขจัดกลียุคในสมัยของตนด้วยการอบรมหลักจริยธรรม ขัดเกลาจิตใจผู้คนโดยเฉพาะชนชั้นปกครองให้มีคุณธรรม ขงจื๊อเชื่อมั่นว่าคุณธรรมเท่านั้นที่จะนำความสงบสุขมาสู่สังคมได้
ขงจื๊อทำการค้นคว้าจนรอบรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ประวัติศาสตร์ การปกครองและดนตรี แล้วท่านก็ตั้งโรงเรียนสอนผู้สนใจทั่วไป สำนักของขงจื๊อเน้นด้านจารีตประเพณี ท่านสอนอยู่ ๒๐ ปี มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว มีลูกศิษย์มากมาย ต่างสรรเสริญความคงแก่เรียนและน้ำใจเอื้ออาทรของท่าน ท่านชอบพูดอย่างถ่อมตนเสมอว่า ท่านเป็นเพียงผู้รวบรวมความรู้ของนักปราชญ์สมัยโบราณมาถ่ายทอดแก่ผู้คนร่วมสมัย ท่านไม่เคยยกตนเป็นเจ้าของหลักความคิด ทฤษฎี หรือคำสอนในเรื่องใดทั้งสิ้น
ขงจื๊อวางหลักการครองชีวิตและการวางตัวไว้ให้บุคคลทุกสถานะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ครองแผ่นดินหรือเป็นเพียงผู้ครองเรือน เมื่ออายุได้ ๕๑ ปีท่านเข้ารับราชการฝ่ายปกครอง มีความสามารถจนได้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม มีโอกาสนำความคิดด้านการปกครองไปทดลองใช้กับแคว้นหลู่บ้านเกิด ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเวลาเพียง ๔ ปีจนเป็นที่ริษยา ถูกกลั่นแกล้งจนต้องออกจากเมืองไป ท่านตระเวณไปขอพบเจ้าเมืองหลายคน ด้วยความหวังว่า จะมีผู้สนใจหลักการปกครองของท่าน แต่ก็ต้องผิดหวัง ไม่มีเจ้าเมืองคนใดยอมให้ท่านนำความคิดมาประยุกต์ใช้ในเมืองของตน อย่างไรก็ดี ในหมู่ผู้ครองเรือนขงจื๊อได้รับความเคารพรักและความยกย่องอย่างสูง บรรดาลูกศิษย์ของท่านต่างช่วยกันจดบันทึกคำสอนของท่านอย่างละเอียด ท่านดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ปฏิบัติตัวอยู่ในหลักจริยธรรมตามที่ท่านเองสอน ท่านอุทิศเวลาจวบจนบั้นปลายของชีวิตให้กับการเรียนและการสอนคุณธรรม และศึกษา รวบรวม คัดเลือกและเรียบเรียงงานวรรณกรรมเก่าๆ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนโบราณมิให้สูญหาย ขงจื๊อสิ้นชีวิตเมื่ออายุ ๗๓ ปี
หลักการปกครองและหลักจริยธรรมของขงจื๊อได้รับการยกย่องในสมัยต่อมา พระจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่น (ระหว่างปี ๒๐๖ ก่อนคริสตกาลถึงค.ศ. ๒๒๐) ต่างใช้หลักธรรมของขงจื๊อเป็นแนวการปกครอง โดยเฉพาะข้อที่กำหนดให้ผู้ปกครองดูแลราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่ใช้อำนาจข่มขู่หรือเบียดเบียนราษฎร
ปัจจุบันนี้คำสอนของขงจื๊อยังคงมีอิทธิพลมหาศาล ชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมของประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียตนาม สิงคโปร์และอีกหลายประเทศในเอเซียอาคเนย์ต่างมีโฉมหน้าดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะคำสอนที่ขงจื๊อรวบรวมไว้
สาวกคนสำคัญ - เม่งจื๊อ
จุดมุ่งหมายในการสอน
อาจกล่าวอย่างกว้างๆได้ว่า ขงจื๊อมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสอนสองประการ คือ ต้องการจะยกระดับจิตใจของคน และสร้างความสามัคคีในสังคม การที่จะบรรลุจุดหมายทั้งสองบุคคลต้องเริ่มที่ตนเองก่อน ขั้นแรกจะต้องศึกษาเล่าเรียนเพื่อขัดเกลาจิตใจของตน ในขั้นต่อมาจะต้องใช้คุณธรรมเป็นหลักประจำใจเมื่อต้องติดต่อกับผู้คน หัวข้อสำคัญของปรัชญาขงจื๊อได้แก่หลักการปกครอง ขงจื๊อมุ่งสอนชนชั้นปกครองเพราะท่านคิดว่า ถ้านักปกครองทำหน้าที่ของตนโดยใช้หลักจริยธรรมและวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ราษฎรแล้ว บ้านเมืองก็จะสงบสุข ส่วนราษฎรก็ต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง เป็นหลักปฏิบัติที่ต่างฝ่ายต่างมีพันธะต่อกัน
คำสอน...คำสอนของขงจื๊อดำเนินตามหลัก ๕ ประการ ดังนี้
๑. ศรัทธา หมายถึง ศรัทธาในธรรมชาติของมนุษย์ ขงจื๊อคิดว่า คนเรามีธรรมชาติที่ดีมาแต่กำเนิด เราจึงควรศึกษาธรรมชาติของคน เพื่อจะได้เข้าใจความดีและความสมบูรณ์แบบของธรรมชาติมนุษย์
๒. ความรักเรียน ขงจื๊อคิดว่า การศึกษาจะช่วยให้คนเข้าใจกันดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้คนประพฤติตัวดีเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ด้วย
๓. การบำเพ็ญประโยชน์ ขงจื๊อคิดว่า การมีเมตตาจิตต่อกันจะทำให้สังคมเป็นสุข
๔. การสร้างลักษณะนิสัยและทัศนคติที่ดี คนเราต้องพัฒนาตนเองก่อนจะไปปฏิรูปสังคม การติดต่อกับคนอื่นต้องอยู่บนรากฐานของความถูกต้องและมนุษยธรรม หลักการที่จะนำมาปฏิบัติ ได้ตลอดชีวิต คือ “จงอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่น ในสิ่งที่ท่านไม่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน” ขงจื๊อคิดว่า ถ้านักปกครองวางตัวไม่ดี ราษฎรก็จะประพฤติตัวไม่ดีไปด้วย
๕. ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี ขงจื๊อคิดว่า สังคมจะพัฒนาได้ต้องมีระเบียบแบบแผน และระเบียบแบบแผนที่ดีที่จะช่วยพัฒนาปัจเจกบุคคลก็คือ การศึกษาบทกวีและดนตรี
คำสอนของขงจื๊อแบ่งเป็น ๕ ข้อ ดังนี้
๑. ความเมตตากรุณา มนุษยธรรม
๒. ความยุติธรรม
๓. พิธีตามจารีตประเพณี (li แปลว่า ความเหมาะสม) หมายถึง ก. มารยาทที่ดี สมบัติผู้ดี การวางตนถูกกาละเทศะ ข. การเซ่นสรวงบูชา ค. การประกอบพิธีกรรมต่างๆ
๔. สติปัญญา
๕. ความกตัญญูต่อบิดามารดา
ความสำคัญของการศึกษา
ขงจื๊อตั้งหน้าศึกษาอดีตเพื่อเรียนรู้จากคนในอดีต แต่คำสอนของท่านเน้นการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันโดยดำเนินตามแบบอย่างอันดีงามของบรรพชน ขงจื๊อให้ความสำคัญต่อการศึกษาอย่างยิ่ง คำว่าการศึกษาในที่นี้มีความหมายพิเศษ มิใช่การศึกษาเพื่อนำไปประกอบอาชีพ แต่หมายถึงการศึกษาเพื่อขัดเกลาจิตใจให้มีจริยธรรม และเพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมของผู้ศึกษา ขงจื๊อย้ำว่า คนเราพึงเล่าเรียนเพื่อจะได้พัฒนาเป็นมนุษย์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม การพากเพียรปลูกฝังคุณธรรมนี้จะช่วยให้แต่ละบุคคลประพฤติตนตามทำนองคลองธรรม อันจะส่งผลให้สังคมสงบสุข
คำว่าการศึกษาของขงจื๊อจึงมีคุณธรรมเป็นเป้าหมาย และพอจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า ขงจื๊อต้องการสอนคนให้เป็นมนุษย์ หรือผู้ที่มีจิตใจสูงนั่นเอง
ระบบคุณธรรม
ระบบคุณธรรมในปรัชญาของขงจื๊อมีสวรรค์ (หรือฟ้า) เป็นฝ่ายควบคุม คอยให้ความยุติธรรมแก่มนุษย์ในรูปของกฎหมายสากล ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “ผู้ใดทำผิด สวรรค์ย่อมลงโทษ” ระบบคุณธรรมนี้มาจากความเชื่อของชาวจีนโบราณที่ว่า สวรรค์อยู่เหนือโลก คอยสอดส่องควบคุมจริยธรรมของชาวโลก กษัตริย์เป็นโอรสของสวรรค์ ได้รับการมอบหมายจากสวรรค์ให้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างสวรรค์กับราษฎร ความมั่นคงของกษัตริย์และราชวงศ์ขึ้นอยู่กับความกรุณาของสวรรค์ ถ้าความประพฤติของกษัตริย์ไม่ตั้งอยู่ในหลักธรรม สวรรค์ก็จะบรรดาลให้เกิดภัยพิบัติต่างๆในแผ่นดิน ทั้งภัยธรรมชาติและความระส่ำระสายทางการเมืองและสังคม เมื่อนั้นก็จะมีผู้คบคิดกันโค่นอำนาจของกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ ผู้เป็นกษัตริย์จึงพยายามตั้งมั่นอยู่ในจริยธรรม กษัตริย์แสดงความเคารพยำเกรงสวรรค์ให้ปรากฏต่อสายตาของโลกโดยประกอบพิธีเซ่นสรวงบูชาให้ถูกต้องตามแบบแผน ส่วนประชาชนก็ทำหน้าที่โดยเชื่อฟังและภักดีต่อกษัตริย์ เมื่อถึงตรุษสารทก็ทำพิธีเซ่นไหว้ให้ถูกต้องตามประเพณี หากทำได้ดังนี้ชีวิตของแต่ละคนก็จะราบรื่น และอาณาจักรก็จะมีแต่สันติสุข
พิธีตามจารีตประเพณี (Li) หมายถึง
ก. มารยาทที่ดี สมบัติผู้ดี การวางตนถูกกาละเทศะ
ข. การเซ่นสรวงบูชา
ค. การประกอบพิธีกรรมต่างๆ
อาจจะมีผู้สงสัยว่าเหตุใดคำว่า li ซึ่งแปลตามตัวว่า ความเหมาะสม จึงมีความหมายกว้างถึงเพียงนี้ ในการพิจารณาเรื่องนี้เราพึงนึกอยู่เสมอว่า ขงจื๊อให้ความสำคัญแก่สังคมเหนือสิ่งอื่นใด ทั้งนี้ด้วยเหตุผลจากสามัญสำนึกว่า คนเราจะพัฒนาบุคคลิกภาพได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสังคมเท่านั้น สังคมเป็นสนามให้เราได้มีโอกาสขัดเกลาจิตใจ ปลูกฝังและเพิ่มพูนคุณธรรม ในขณะเดียวกันคุณธรรมก็ไร้ความหมายหากไม่มีการแสดงออก และคุณธรรมจะปรากฏออกมาได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสังคมเท่านั้น
การประกอบพิธีต่างๆเป็นทางหนึ่งที่จะแสดงคุณธรรมในใจ นั่นคือ คุณธรรมเป็นจุดกำเนิดหรือรากฐานของพิธีกรรม ขงจื๊อให้ความสำคัญแก่การเซ่นสรวงบูชาและการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพราะพิธีเป็นการแสดงความเคารพศรัทธาที่คนมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมาให้ปรากฏ ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นสิ่งดีแต่ไร้ความหมายหากไม่มีการแสดงออก
ในทำนองเดียวกันมารยาทในสังคมก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะแสดงคุณธรรมในใจ มารยาทจะช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้ราบรื่นแม้เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น สุภาพชนพึงรู้จักมารยาทการวางตนให้เหมาะแก่บุคคล สถานที่และโอกาส การแสดงความเคารพบุคคลตามฐานะ เป็นการให้เกียรติแก่ยศและตำแหน่งของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งยังเป็นการเตือนให้อีกฝ่ายหนึ่งระลึกถึงหน้าที่ของตน ที่ผูกอยู่กับยศและตำแหน่งนั้นด้วย
ระบบความคิดแบบครอบครัวหรือความสัมพันธ์ ๕แบบ
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆในสังคมมีความสำคัญไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัย สถานะทางสังคมและความเกี่ยวดองฉันญาติ
ขงจื๊อแบ่งความสัมพันธ์ในสังคมออกเป็น ๕ แบบ ได้แก่
๑. ความสัมพันธ์ระหว่างบิดาต่อบุตร (ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างมารดาต่อบุตรด้วย)
๒. ความสัมพันธ์ระหว่างพี่ต่อน้อง
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีต่อภรรยา
๔. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อาวุโสต่อผู้อ่อนวัย
๕. ความสัมพันธ์ระหว่าง กษัตริย์ต่อราษฎร
ขงจื๊อคิดว่า ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่สำคัญที่สุด เพราะครอบครัวเป็นรากฐานของสังคม ขงจื๊อกำหนดว่า ภายในครอบครัวจะต้องมีระบบพันธะ คือต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อกันและกัน บิดามีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ให้การศึกษา อบรมศีลธรรมจรรยาและจัดหาคู่ครองให้ ส่วนบุตรมีหน้าที่เคารพเชื่อฟังบิดา และให้การดูแลเมื่อบิดาเข้าสู่วัยชรา
ในทำนองเดียวกัน ความสัมพันธ์อีก ๔ แบบข้างต้นก็มีระบบพันธะเป็นรากฐาน และใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบิดาต่อบุตรเป็นแม่แบบ เช่น ผู้อาวุโสมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อ่อนวัยตามอัตภาพ อาจจะช่วยโดยให้คำแนะนำ ให้ทรัพย์ หรือให้การปกป้อง ส่วนผู้อ่อนวัยมีหน้าที่ให้ความนับถือและ เชื่อฟังยอมรับความหวังดี
ขงจื๊อเชื่อว่า สังคมจะเรียบร้อยกลมเกลียวได้ก็ต่อเมื่อชีวิตครอบครัวเป็นสุข
ความกตัญญูกตเวที
ในเรื่องความกตัญญูกตเวที ขงจื๊อย้ำว่า บุตรต้องเคารพนับถือบิดามารดาด้วยใจจริง มิใช่เพียงแต่หาอาหารมาให้บิดามารดาเท่านั้น เพราะสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข เราก็ให้อาหารมัน ถ้าหากว่าไม่มีความเคารพนับถือบิดามารดาเสียแล้ว บิดามารดาก็เป็นเสมือนสัตว์เลี้ยงในใจของเรา บุตรอาจแนะนำหรือทัดทานบิดามารดาอย่างสุภาพอ่อนโยนได้ หากบิดามารดาไม่คล้อยตามคำแนะนำ ก็ยังต้องแสดงกิริยานอบน้อมไว้ และไม่ล้มเลิกความตั้งใจที่จะทัดทานเพื่อผลดีต่อตัวท่าน ถึงแม้จะถูกตำหนิแรงๆหรือถูกเฆี่ยนตี ก็ไม่ควรอุทธรณ์ฎีกาใดๆ ทั้งสิ้น
การแสดงความรักและความเคารพต่อบิดามารดาเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ และแสดงความเศร้าโศกเสียใจเมื่อท่านจากไปแล้ว เป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งของมนุษย์ ดังนั้น การบูชาบรรพบุรุษจึงเป็นพิธีกรรมที่ขงจื๊อถือว่าเป็นรากฐานแห่งจริยธรรม
อุดมคติในการปฏิบัติต่อกันในสังคม
- ผู้ปกครองแสดงความเมตตาผู้อยู่ใต้การปกครอง และผู้อยู่ใต้การปกครองมีความจงรักภักดี
- บิดามารดาให้ความเมตตา บุตรมีความกตัญญูกตเวที
- สามีทำหน้าที่อย่างมีคุณธรรม ภริยาเชื่อฟังและเคารพสามี
- พี่ชายรักและเอ็นดูน้อง น้องนับถือพี่
- เพื่อนวางตัวให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของกันและกันได้
- ต้องดูแลให้ประชาชนมีอาหารบริโภคทั่วหน้าอย่างเพียงพอ
- ต้องสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง เพื่อป้องกันแคว้นของตน
- ต้องวางตนให้ประชาชนเชื่อถือ
- ให้บริการแก่ประชาชน
- ออกกฎต่างๆเพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
- เม่งจื๊อคิดเหมือนขงจื๊อที่ว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมาแต่กำเนิด และมีความสามารถที่จะทำความดีเท่าเทียมกันถ้ามีความพยายาม
- เม่งจื๊อสนับสนุนให้ราษฎรมีสิทธิและเสรีภาพ
- มนุษยธรรม (jen)
- ความถูกต้องชอบธรรม (li = ความเหมาะสม)
- กษัตริย์มีอำนาจเหนือเหล่าขุนนาง
- พ่อมีอำนาจเหนือลูก
- สามีมีอำนาจเหนือภรรยา
- พิธีบูชาขงจื๊อ เริ่มต้นเมื่อปี 195 ก่อน ค.ศ. (พ.ศ. 348) พระจักรพรรดิจีนได้นำสัตว์ที่ฆ่าแล้ว ไปทำพิธีบูชาที่หลุมฝังศพของขงจื๊อ และมีคำสั่งเป็นทางการให้มีการเซ่นไหว้ขงจื๊อเป็นประจำ และให้สร้างศาลของขงจื๊อขึ้นในหัวเมืองสำคัญ เพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ กำหนดให้วันที่ 27 สิงหาคมซึ่งือเป็นวันเกิดของขงจื๊อ เป็นวันหยุดราชการประจำปีของจีน โดยต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวันที่ 28 กันยายน
- พิธีบูชาฟ้า ดิน พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ในปีหนึ่ง จะมีรัฐพิธี 4 ครั้ง ดังนี้
- เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม
- ไม่ต้องเป็นหว่งคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นหว่างว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
- การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
- การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว
- บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
- บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
- ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
- ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
- บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
- ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
- จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
- ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
- สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
- บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
- อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว
- กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น
- ยังปรนนิบัตติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า
- บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี
- ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก
- ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้
- ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน
- เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ
- บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป
- ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย
- ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
- เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม
- ไม่ต้องเป็นหว่งคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นหว่างว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
- การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
- การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว
- บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
- บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
- ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
- ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
- บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
- ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
- จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
- ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
- สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
- บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
- อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว
- กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น
- ยังปรนนิบัตติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า
- บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี
- ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก
- ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้
- ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน
- เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ
- บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป
- ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย
- ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
- จงอย่าใส่ใจว่า คนอื่นจะมองว่าเราเป็นคนอย่างไร มีชื่อเสียงมากน้อยแค่ไหน หรือมีฐานะอย่างไร แต่ให้สนใจว่า ตัวเราเองมีค่าควรแก่การ “ใส่ใจหรือให้ความเคารพนับถือ” แล้วหรือยัง
- ชื่อเสียงเงินทองที่ได้มาด้วยการคดโกงย่อมไม่ยั่งยืนหรือมีคุณค่าอันใด และไม่ต่างจากเมฆบนท้องฟ้าที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
- บุคคลที่เราควรให้ความเคารพ ควรจะเป็นคนที่จะใส่ใจในเรื่องความซื่อตรงและยุติธรรม มากกว่าเรื่องลาภยศสรรเสริญ
- คนดีจะเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แต่ไม่สุรุ่ยสุร่าย ขยันขันแข็งโดยไม่อึดอัดทรมาน มีเป้าหมายในชีวิตแต่ไม่ละโมบโลภมาก เป็นคนง่าย ๆ แต่ไม่อวดดี เป็นคนมีศักดิ์ศรีแต่ไม่โหดร้ายเป็นคนที่รู้จักเกรงอกเกรงใจคนอื่นโดยไม่เลือกปฏิบัติ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา จิตใจจะไม่มีความหยิ่งยะโสโอหัง
- ขงจื๊อเชื่อว่า เป็นการท้าทายที่จะพัฒนาตนเองให้มีพฤติกรรม 5 ประการดังต่อไปนี้
- คนที่จิตใจได้รับการฝึกฝนและขัดเกลาแล้วจะไม่ใส่ใจมากนักในเรื่องการกินและการอยู่อย่างไรจึงจะสุขสบาย แต่จะจดจ่อที่หน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ และมีการสำรวมระวังคำพูดอยู่เสมอ
- หากจะต้องเลือกคบคนที่ตระหนี่ถี่เหนียว ยังดีกว่าเลือกคบคนที่สุรุ่ยสุร่าย สำมะเลเทเมา พยายามอย่าสุงสิงกับคนที่มีคุณธรรมและคุณภาพจิตใจต่ำกว่าเรา เพราะความคิด คำพูด และการกระทำของอีกฝ่ายย่อมกระทบกระเทือนจิตใจเราอย่างที่หลีกเลี่ยงเสียไม่ได้ จงเลือกคบคนที่มีคุณธรรม มีน้ำใจ มีความยุติธรรม ปากกับใจตรงกัน ไม่อิจฉาริษยา และรู้จักพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
- ผู้ที่มีคุณธรรมในจิตใจง่ายที่ทำงานด้วย แต่ยากที่จะประจบเอาใจ หากเราพยายามเอาใจอย่างผิดวิธีแล้วล่ะก็ คนที่มีคุณธรรมจะไม่ชอบหน้าเรา เพราะคนเหล่านี้จะใช้คนตรงตามความสามารถ และในทางกลับกัน คนที่มีจิตใจคับแคบ นิดนึงก็ไม่ได้ นิดนึงก็ไม่ยอม ยากที่จะทำงานด้วย แต่เอาใจง่ายมาก และแม้ว่าเราจะเอาใจอย่างผิด ๆ เขาก็ยังชอบเรา เพราะคนจำพวกนี้คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นสำคัญ
- ย่อมเป็นการยากที่เราจะพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคงได้ ตราบเท่าที่เรายังมีความละโมบโลภมากในจิตใจ
- คนที่ไม่มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจมักจะยอมแพ้ระหว่างทาง เพราะเขาได้ตีกรอบไว้ให้ตนเองตั้งแต่ต้นแล้วว่าเขาจะไม่มีทางจะทำสำเร็จ
- คนที่ไม่รู้จักมองการณ์ไกลจะมีความกังวลอยู่กับเรื่องราวเฉพาะหน้า หรือเรื่องความสัมพันธ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไร้สาระเกี่ยวกับคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้าเรามีเป้าหมายในชีวิตและมีการวางแผนล่วงหน้าว่าเราอยากจะทำอะไร เราจะรู้จักปล่อยวางไม่กังวลกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรเพื่อสิ่งใด เราจะรู้จักใช้เวลาอย่างคุ้มค่า และเราจะรู้จักเลือกคบคนไปโดยปริยาย ไม่ลอยไปลอยมาวันหนึ่ง ๆ
- “คนที่อยากให้คนเคารพยำเกรง แต่ไม่รู้จักการวางตัว คนเห็นก็จะเบื่อและเซ็ง
- คนที่มีคุณธรรมจะไม่พะว้าพะวง คนที่มีความรู้จะไม่สับสน และคนที่กล้าหาญจะปราศจากความขลาดกลัว
- คนที่ใจร้อน ไม่รอบคอบ และชอบทำตามอารมณ์จะไม่มีวันประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกัน คนที่คิดเล็กคิดน้อย นิดนึงก็ไม่ได้นิดนึงก็ไม่ยอม ย่อมไม่สามารถทำการใหญ่ได้
- ผู้ที่ต้องการยกระดับคุณภาพจิตใจพึงตระหนักถึงระเบียบวินัย 3 ประการ ดังนี้
- มันเป็นการยากที่คนเราจะมองเห็นข้อบกพร่องของตนเอง และยากยิ่งกว่าที่จะตำหนิตนเองและยินดีที่จะปรับปรุงแก้ไขในเรื่องนั้นๆ
- จงกังวลในเรื่องต่อไปนี้
- มันเป็นการป่วยการที่จะพร่ำบ่นถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้ว และจงเลิกเศร้าโศกกับเรื่องในอดีต
- เมื่อออกไปนอกบ้านให้วางตัวเสมือนว่า เราจะต้องต้อนรับแขกเหรื่อที่สำคัญ ให้เรายิ้มแย้มแจ่มใส โอภาปราศัย สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน และหากจะต้องมอบหมายงานแก่ผู้ใด ให้สร้างมโนภาพว่า เราเป็นแม่งานและให้มอบหมายงานตามความถนัดของแต่ละคน และสั่งงานด้วยความชัดเจนและรัดกุม
- สิ่งใดที่เราไม่ชอบ ก็จงอย่าทำสิ่งนั้นกับผู้อื่น ทั้งคนในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้าง จงอย่าสร้างศัตรูในเขตอาณาของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ อย่าทะเลาะกับคนในบ้าน คนที่ยิ่งใกล้ เราต้องยิ่งระวัง
- ถ้าเราไม่ได้สนทนากับคนที่ควรคบหาสมาคมด้วย เราก็จะเสียคน ๆ นั้นไป และในทางกลับกัน ถ้าเราพูดคุยคบหากับคนที่ไม่ควรสุงสิง เราจะสูญเสียเวลา คนที่ฉลาดย่อมจะไม่ยอมสูญเสียทั้งคนและเวลา
- การทำใจและก้มหน้ายอมรับชะตากรรมว่า เราเกิดมายากจน เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าการถ่อมตัวและฝืนใจที่จะไม่โอ้อวดในความร่ำรวยของตนเอง ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมีความร่ำรวยหรือมีสิ่งที่เหนือกว่าผู้อื่น มักชอบโอ้อวดและประกาศศักดาของตัวเอง พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมเป็นการนำภัยมาสู่ตนเองโดยไม่รู้ตัว ขงจื๊อจึงสอนว่า เมื่อร่ำรวยแล้วไม่ควรอวดตัว แต่ให้มีความสำรวม สมถะ และมีความพอเพียง
- หากเราคบหาสมาคมกับคนที่ไม่สำรวม ชอบทำอะไรตามอำเภอใจ วันหนึ่งเราก็จะกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว และไม่เกรงใจคน หรือไม่ก็เป็นคนที่หวาดกลัวไม่กล้าทำอะไร
- จงเป็นผู้ฟังที่ดี และให้ฟังหูไว้หู จงอย่าตัดสินคนจากคำพูด แต่ให้พิจารณาจากการกระทำว่า มันสอดคล้องกับสิ่งที่เขาพูดหรือไม่ และที่สำคัญคือ สิ่งที่เขาพูดนั้น พูดไปเพื่อจุดประสงค์อะไร มีอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่ คนที่มีคุณธรรมมักจะมีอะไรพูดอยู่เสมอ แต่คนที่พูดอยู่เสมอไม่จำเป็นต้องมีคุณธรรม คนที่ดีจะพูดช้าแต่ทำเร็ว
- เพื่อนที่ดีจะเป็นคนซื่อตรง ซื่อสัตย์และมีความรอบรู้ แต่เพื่อนที่จะพาไปสู่ทางต่ำ จะชอบเสแสร้ง ชอบประจบสอพลอ ชอบแสร้งเอาใจประหนึ่งว่า เราจะได้ประโยชน์ตลอดเวลาหากเราคบหาสมาคมด้วย
- คนที่โชคดีที่สุดคือ คนที่เกิดมาแล้วชาญฉลาด ถัดลงมาคือคนที่ชาญฉลาดเนื่องจากการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม รองลงมาคือผู้ที่เรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดของตน และพวกที่ต่ำสุดคือพวกที่ประสบปัญหาแล้วไม่เคยคิดที่จะเรียนรู้หรือแก้ไขเลย
- คนที่มีการฝึกฝนอบรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมมาแล้วจะมีความสงบและเยือกเย็น ไม่อวดดีถือเนื้อถือตัว แต่คนที่ใจเล็กและคับแคบจะมีความสำคัญมั่นหมาย อวดดี ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน ชอบเปรียบเทียบ อิจฉาริษยา วาจาไม่ระงับจิตใจยากที่จะสงบ หากพบเจอพวกนี้ให้นิ่งเฉยและถอยห่าง ฉะนั้น เราควรจะเลือกคบคนที่พูดไม่มาก เข้าใกล้แล้วสบาย สงบเยือกเย็น มีคำพูดและการกระทำสอดคล้องกัน
- เราไม่ควรเลือกคบบุคคล ดังต่อไปนี้
- คนที่หมั่นศึกษาหาความรู้โดยการท่องตำราแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่นำความรู้ไปทบทวนหรือนำไปปรับใช้เปรียบได้กับ “คนตาบอด” ในขณะเดียวกัน คนที่ชอบแสดงวิเคราะห์วางแผน แสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่สนใจที่จะหาความรู้ใด ๆ เพิ่มเติม คนพวกนี้จะประสบภยันตรายและโอกาสที่จะคิดผิดทำผิดมีสูงมาก เพราะใช้แต่สัญชาตญาณหรือเชื่อความคิดของตนเองแต่เพียงถ่ายเดียว
- แม้ว่าคุณจะเป็นคนดีและมีความสามารถสักปานใด ความสามารถนั้นจะไม่เกิดดอกออกผลอันใดหากคุณเป็นคนที่อวดดี ใจแคบ และตระหนี่ถี่เหนียว เพราะคุณเป็นคนที่ไม่มีใครต้องการคบหาสมาคมด้วย
- คนฉลาดจะปรับประยุกต์ให้กลมกลืนแต่จะไม่ลอกเลียนแบบ แต่คนโง่จะชอบลอกเลียนแบบและไม่คำนึงถึงการปรับใช้ (Copyright © ดร.บุญชัย โกศลธนากุล, 2556)
- ไม่ว่าคุณจะทำอะไรหรือคิดอะไรอยู่ แล้วมีคน คนหนึ่งมาดูถูกเราว่าเราทำไม่ได้ เพียงแค่อย่าเอาแค่ถ้อยคำพูดไม่กี่คำที่ไม่มีค่า มาทำให้เราถ้อใจได้ละ (ใจ สมอง และ ความคิด ) เป็นของเรา
- อย่าเก็บคำวิจารณ์ของคนอื่นมาใส่ใจ แต่จงรับฟังและใช้มันพัฒนาตัวเองดีกว่า
- อย่าให้คำพูดของคนอื่น มาตัดสินชะตาชีวิตของเรา
- เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว เดินหมากรุกยังต้อง ” คิด ” เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร
- ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
- เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม
- ข้าจะบอกอะไรให้ ท้าคบคนไม่ได้คบคนที่หน้าตา…แต่คบคนที่พร้อมจะชราไปกับเรา
- ไปให้สุด……….แล้วหยุดแค่คำว่าพอ
- 4 สิ่งในโลก ที่เงินซื้อไม่ได้ คือ ความรัก เวลา ชีวิต และ มิตรแท้
- การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว
- บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
- คำคมขงจื้อ
- บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
- ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
- ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
- บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
- ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
- จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
- ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
- สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
- บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
- เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม
- ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
- การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
- ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
- ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย
- บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป
- เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ
- ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน
- ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้
- ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก
- บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี
- ยังปรนนิบัตติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า
- กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น
- อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว
- คำคมขงจื้อ
- บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
- สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
- ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
- จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
- ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
- บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
- ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
- ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
- บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
- บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
- การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
- ไม่ต้องเป็นหว่งคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นหว่างว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
- คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ขอตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึง ถึงคุณธรรม
- บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่องที่ขอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึง ถึงคุณธรรม
- คำคมขงจื้อ
- ผู้มีคุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
- เพื่อนที่ซื่อตรง เพื่อนที่มีความชอบธรรม เพื่อนที่มีความรู้ ทั้ง ๓ ประเภทนี้มีประโยชน์แก่เรา
- ทุกคนเกลียดก็ต้องพิจารณา ทุกคนรักก็ต้องพิจารณา
- เรื่องเล็กไม่อดกลั้นไว้จะทำให้แผนเรื่องใหญ่เสีย
- พูดไพเราะตลบแตลง ทำให้สูญเสียคุณธรรม
- บัณฑิตมีความกลัวอยู่ ๓ ประการ
- กลัวประกาศิตของสวรรค์
- กลัวผู้มีอำนาจ
- กลัวคำพูดของอริยบุคคล
- อ่านหนังสือโดยไม่ค้นคิด การอ่านจะไม่ได้อะไร ค้นคิดโดยไม่ได้อ่านหนังสือ การค้นคิดจะเปล่าประโยชน์
- ทบทวนเรื่องเก่า และรู้เรื่องใหม่ขึ้นมาอีก ก็จะเป็นครูได้
- นักศึกษาสมัยก่อน ศึกษาเพื่อให้ตนมีความสำเร็จในการศึกษา นักศึกษาในปัจจุบัน ศึกษาเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีการศึกษา
- ชอบเอาสองคนมาเทียบกันว่าใครดีกว่าใคร เธอเองเก่งพอแล้วหรือ สำหรับเราไม่มีเวลาว่างมาทำเช่นนั้น
- ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรักคนด้วยความจริงใจ และจึงสามารถเกลียดคนด้วยความจริงใจ
- ผู้มีปัญญาชื่นชมน้ำ เป็นผู้ขยัน ผู้มีความสุข ผู้มีเมตตาชื่นชมภูเขา เป็นผู้รักสงบ เป็นผู้มีอายุยืน
- เลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้นนะหรือ ถ้าเช่นนั้น หมากับม้าก็ได้รับการเลี้ยงดูให้มีชีวิตอยู่เช่นกัน
- เมื่อประตูบานหนึ่งปิด อีกบานหนึ่งก้อเปิดแต่บ่อยครั้งที่เรามัวแต่จ้องประตูบานที่ปิดจนไม่ทันเห็นว่ามีอีกบานที่เปิดอยู่
- อย่ามัวค้นหาความผิดพลาด จงมองหาหนทางแก้ไข
- อารมณ์ขันเป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุดที่ช่วยรักษาสิ่งอื่นได้ เพราะทันทีที่เกิดอารมณ์ขันความรำคาญและความขุ่นข้องหมองใจจะมลายไปกลับกลายเป็นความเบิกบานแจ่มใสของจิตใจเข้ามาแทนที่
- อย่ากลัวที่จะนั่งหยุดพักเพื่อคิด
- 1 นาทีที่คุณโกรธเท่ากับคุณได้สูญเสีย 60 วินาทีแห่งความสงบในจิตใจไปแล้ว
- ผู้ชนะไม่เคยลาออก และผู้ลาออกก็ไม่เคยชนะ
- ออกซิเจนสำคัญต่อปอดเช่นไร ความหวังก็เป็นเช่นนั้นต่อความหมายของชีวิต
- การมีชีวิตอยู่นานเท่าใดมิใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือ มีชีวิตอยู่อย่างไร
- เราเข้าใจชีวิตเมื่อมองย้อนหลังเท่านั้น แต่เราต้องดำเนินชีวิตไปข้างหน้า
- ไม่มีสิ่งใดช่วยให้คุณได้เปรียบคนอื่นมากเท่ากับการควบคุมอารมณ์ให้สงบนิ่งอยู่ตลอดเวลาในทุกสถานการณ์
- ความอดทนคือเพื่อนสนิทของสติปัญญา
- พรสวรรค์ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ คือ การที่เราสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราได้
- ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่
- ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไร คุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น
- เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย
- เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส
- เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
- ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
- นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ
- ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด
- ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด
- ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น
- ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี
- ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่ คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
- เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว
- เดินหมากรุกยังต้อง " คิด "
- เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร
- เมื่อใครสักคนหนึ่ง ทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา
- เพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่น เดียวกับเขา
- ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้
- การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น
- ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสารมารถของตนอย่างเต็มที่
- ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่
- ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่
- อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น
- เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่ หรือ อาจจะ" เขามีความหมายว่า "อาจจะ"
- เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"
- เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต ( เพราะนัก การฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร )
- เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"
- เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่ หรือ ได้"
- เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่ หรือ ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี
- ( สุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่าย ๆ )
- คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย
- ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถ มองเห็นคิ้วของตน
- คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมอง ไปยังอนาคต